วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติแมวเหมียว


ประวัติน้องเหมียว
        
                                      แมวมีชื่อเรียกทั่วไปในภาษาลาตินว่า "เฟลิส คาตัส" (Felis Catus) เป็นสัตว์เก่าแก่ดึกดำบรรพ์ แมวมีอยู่ในทุกทวีป รูปร่างลักษณะและโครงสร้างคล้ายคลึงกัน แต่ขนาดอาจผิดกันและความยาวของขนต่างกัน แมวเมืองหนาวมีขนยาวกว่าแมวในเมืองร้อน แมวที่นิยมเลี้ยงกันมีหลายพันธุ์ เช่นพันธุ์เปอร์เซีย และพันธุ์ไทยเป็นต้นชาวตะวันตกเชื่อว่าแมวนั้นเดิมเป็นสัตว์ในแอฟริกา ชาวอียิปต์นำมาเลี้ยงไว้ในบ้าน แมวจึงอยู่กับคนเรื่อยมา จนในที่สุด เผ่าพันธุ์ของแมวก็กระจายไปทุกหนทุกแห่งทั่วโลก แมวพันธุ์แรกคือ อบิสซีเนียขายาว หน้าแหลมยาว ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะออกไปต่างๆ นานาตามหลักทางชีววิทยา แต่แมวที่ยังคงลักษณะรูปเดิม คือมีรูปร่างเพรียว หน้าแหลมตาคม สัญนิฐานว่าเหลือเพียงสามพันธุ์ในโลก คือ แมวอบิสซิเนียน แมวอียิปต์ และแมวไทยแมวทั้งสามพันธุ์นี้หน้าตาไม่แตกต่างกันมากนัก สองชนิดแรกสัญนิฐานว่าอาจสูญพันธุ์ไปแล้ว คงเหลือแต่"แมวไทย"ที่นับเป็นพันธุ์เก่าแก่ที่สุดในโลกอยู่พันธุ์เดียว บรรพบุรุษของแมวไทยน่าจะเป็นแมวอียิปต์ เพราะมีรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกันมาก โดยที่ทางอียิปต์เรียกแมวว่า "เมียว" มีข้อสันนิษฐาน  การมาของแมวมายังแถบตะวันออกว่าว่า ในการเดินเรือการค้าสมัยโบราณจากอียิปต์มายังแถบตะวันออก อาจจะมีกะลาสีเอาแมวใส่ไว้ในเรือเพื่อจับหนู แมวอียิปต์จึงมาเผยแพร่ถึงทางตะวันออกก็เป็นได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานใดที่สามารถยืนยันในสมมติฐานข้อนี้ได
อีกบทความ
                          แมว มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Felis Catus นักชีววิทยาค้นพบว่า บรรพบุรุษของแมวถือกำเนิดขึ้นกว่า 50 ล้านปีมาแล้ว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และกินเนื้อเป็นอาหาร เรียกว่า Miacis และได้วิวัฒนาการขั้นมาจนเริ่มมีลักษณะคล้ายแมวเมื่อ 10 ล้านปีก่อน มีขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกับแมวป่าที่มีเขี้ยวขนาดใหญ่ เรียกว่า Dinistis
                          ต้นตระกูลของแมวบ้านจริงๆนั้น แยกออกมาจากตระกูลของ เสือไซบีเรียน และแมวพื้นเมืองต่างๆ ในปัจจุบันสายพันธุ์แมวถูกรวบรวมไว้ถึง 36 ตระกูล 51 ชนิด(รวมทั้งสิงโตและเสือต่างๆด้วย)  ต่อมาถึงยุคอียิปต์โบราณ ประมาณ 4,000 กว่าปีก่อน พวกชาวนาได้นำแมวป่า (แมวพื้นเมืองของอียิปต์) มาฝึกให้เชื่อง เพื่อใช้จับหนูในโรงนาและเมื่อหนูในโรงนาหมดไป ก้อทำให้ผลิตผลและพืชพันธุ์มีความเสียหายน้อยลง ประชาชนก็มีอาหารอุดมสมบูรณ์ขึ้น และไม่มีโรคภัยที่เกิดจากหนูอีกด้วยชาวอียิปต์จึงนับถือแมวเป็นสัตว์เทพเจ้า  ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้า "Bastet" (เทวีบัสเตต) ซึ่งมีตัวเป็นคน แต่มีหัวเป็นแมว เป็นเทพเจ้าแห่งความรัก และความอุดมสมบูรณ์  นอกจากชาวอียิปต์จะใช้แมวจับหนูในโรงนาแล้ว ยังใช้แมวจับหนูบนเรือสินค้าอีกด้วย ตรงจุดนี้ เลยเกิดความเชื่อว่า เมื่อเรือเทียบท่า แมวก็ลงจากเรือ แต่ไม่ได้กลับขึ้นเรือจึงทำให้แมวขนาดพันธุ์ไปทั่วโลก
                          ชาวอียิปต์โบราณนั้นนับถือแมวถึงขนาดแมวในบ้านตาย ยังต้องนำไปทำมัมมี่เลย (มัมมี่คนจะทำเฉพาะราชวงศ์และขุนนางเท่านั้น) มัมมี่แมวสามารถหาดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษ   ในเมื่อแมวเป็นสัตว์เทพเจ้าของอียิปต์โบราณ จึงมีกฎ หากใครฆ่าแมว จะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก  พวกที่ต้องการยึดครองอาณาจักรอียิปต์โบราณ จึงใช้วิธีชั่วร้าย "อุ้มแมวไปรบ" แล้วพวกทหารอียิปต์จะสู้ได้อย่างไร (เป็นส่วนหนึ่งของการรบอียิปต์ไม่ได้ล่มสลายเพราะแมว) แต่ถึงอียิปต์โบราณจะล่มสลายไปแล้ว ชาวอียิปต์ในสมัยก่อนยังนับถือบูชาแมวเหมือนเดิม ขนาดชาวโรมันบางคน (สมัยนั้นโรมันปกครองอียิปต์) ฆ่าแมวยังถูกพวกอียิปต์ลงโทษเลย
                          ต่อมาเข้าสู่ยุคกลางในยุโรป มีความเชื่อเรื่องแม่มด และความชั่วร้ายต่างๆ ชาวยุโรปในยุคนี้กล่าวหาว่า แมวเป็นสัตว์เลี้ยงของแม่มด (โดยเฉพาะแมวดำ) ดังนั้นใครเลี้ยงแมว จะถูกประณามว่าเป็นแม่มดร้าย ยิ่งเป็นคนแก่เลี้ยงแมวยิ่งแล้วใหญ่ พวกนี้มักจะโดนเผาทั้งเป็น ทั้งคนและแมว ดังนั้นเมื่อแมวน้อยลง จึงทำให้มีหนูมากขึ้น ทำให้กาฬโรคระบาดหนักในยุโรปช่วงนั้น
ในยุคใกล้ๆกัน แถบเอเชียอย่างญี่ปุ่นกับจีน เริ่มเลี้ยงแมวกันมากขึ้นจากเดิมที่เคยเลี้ยงอยู่แล้ว และที่ญี่ปุ่นก็ยังใช้แมวเป็นสัญลักษณ์นำโชคอีกด้วย จะเห็นได้จาก "แมวกวัก" ที่ใช้กันตามร้านค้า จะใช้กวักลูกค้า หรือกวักเงินก็แล้วแต่ท่าทางของแมวตัวนั้น และที่จีนก็เชื่อว่า แมวเป็นสัตว์นำโชค เพราะว่าแมวจะเข้ามาอยู่ในบ้าน ก็ต่อเมื่อมันพอใจที่จะอยู่เท่านั้น เมื่อมันเข้ามาอยู่แล้วเจ้าของบ้าน มักจะมีโชคลาภมา
                          ในประเทศไทยก็เริ่มมีการเลี้ยงแมวมา ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เลี้ยงไว้เพื่อใช้จับหนูเหมือนกับชาวอียิปต์นั่นแหละ จนมีตำราแมวให้คุณ-ให้โทษ  แมวไทยคู่แรกที่ออกจากประเทศไทย ไปสู่สายตาชาวโลก ถูกนำออกไปโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงประราชทานให้กับ Mr. Owen Gould กงศุลอังกฤษประจำกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2427 ซึ่งได้นำแมวคู่นี้ไปให้น้องสาวที่อังกฤษ แมวไทยคู่นี้เป็นแมววิเชียรมาศแต้มสีครั่ง และในปี พ.ศ. 2428 แมวไทยคู่นี้ถูกส่งเข้าประกวดในงานแมวที่ The Crystal Palace  ประเทศอังกฤษ ผลการประกวด ปรากฏว่า แมวไทยคู่นี้ชนะเลิศในการประกวด จากการประกวดครั้งน ี้ทำให้ชาวอังกฤษนิยมเลี้ยงแมวไทยมากขึ้น และได้จัดตั้ง The Siamese Cat Clubs ขึ้นในปี 2443 และ The Siamese Cat Society of the British Empire ขึ้นในปี พ.ศ. 2471  หลังจากที่แมวไทยคู่นี้ได้ทำเชื่อเสียง ในอังกฤษ ร.ทรงเห็นว่า แมวไทยเป็นสัญลักษณ์ ที่สามารถทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักของประเทศทั่วโลก จึงได้พระราชทานแมวไทย ให้กับประเทศเพื่อนบ้าน หลายประเทศ และจากสิ่งที่พระองค์ได้ทรงกระทำนั้น ทำให้แมวไทย และประเทศไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลกเลยทีเดียว
 
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-6/no18-25/prettycat/sec01p01.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น